การใช้งานโปรแกรมAdobe Dreamweaver CS6
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ความเป็นมาของโปรแกรม Adobe Dreamweaver
ความเป็นมาของโปรแกรม Adobe Dreamweaver
อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver) หรือชื่อเดิมคือ แมคโครมีเดีย ดรีมวีฟเวอร์ (Macromedia Dreamweaver) เป็น
โปรแกรมแก้ไข HTML พัฒนาโดยบริษัทแมคโครมีเดีย (ปัจจุบันควบกิจการรวมกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์)
ดรีมวีฟเวอร์มีทั้งในระบบปฏิบัติการแมคอินทอช และไมโครซอฟท์วินโดวส์ ดรีมวีฟเวอร์ยังสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบ
ยูนิกซ์ ผ่านโปรแกรมจำลองอย่าง WINEได้
คุณสมบัติและความสามารถของโปรแกรมนี้ซึ่งครองใจผู้ทำเว็บไซต์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งโปรแกรมมาจนถึงปัจจุบัน
โปรแกรม Adobe Dreamweaver มีออกมาหลายเวอร์ชั่นด้วยกัน ซึ่งมีทั้งหมดดังนี้
Dreamweaver 1.0 ( ธันวาคม ค.ศ 1997 )
Dreamweaver 1.2 ( มีนาคม ค.ศ 1998 )
Dreamweaver 2.0 ( ธันวาคม ค.ศ 1998 )
Dreamweaver 3.0 ( ธันวาคม ค.ศ 1999 )
Dreamweaver Ultradev 1.0 ( มิถุนายน ค.ศ 2000 )
Dreamweaver 4.0 ( ธันวาคม ค.ศ 2000 )
Dreamweaver Ultradev 4.0 ( ธันวาคม ค.ศ 2000 )
Dreamweaver MX ( พฤษภาคม ค.ศ 2002 )
Dreamweaver MX 2004 ( 10 พฤศจิกายน 2003 )
Dreamweaver 8 ( 13 พฤศจิกายน 2003 )
Dreamweaver CS3 9.0 ( 27 มีนาคม 2550 เป็นเวอร์ชั่นแรกหลังจากควบกิจการกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์ )
Dreamweaver CS4 (23 กันยายน ค.ศ. 2008)
Dreamweaver CS5 (20 มิถุนายน ค.ศ. 2010)
Dreamweaver CS6 (23 เมษายน ค.ศ. 2012)
รุ่นล่าสุดคือ ดรีมวีฟเวอร์ CC (2017)
จุดเด่นของโปรแกรม Adobe Dreamweaver
จุดเด่นของโปรแกรม Adobe Dreamweaver
โปรแกรมจะทำการแปลงรหัสคำสั่งให้เป็นภาษา HTML โดยอัติโนมัติ ดังนั้นผู้ใช้งานที่ไม่มีความรู้ด้านนี้ก็สามารถทำได้ มีแถบเครื่องมือหรือแถบคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ จึงช่วยในการทำงานได้ดีขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยัง
(1). สนับสนุนเว็บเพจที่เป็นภาษาไทยได้ดี
(2). มีคุณสมบัติที่สามารถจัดการภาพเคลื่อนไหว โดยไม่ต้องอาศัย Plug-in
(3). สามารถเรียกใช้ตารางจากภายนอก โดยการอิมพอร์ตจาก Text File
(4). เป็นโปรแกรมที่สามารถสนับสนุนการใช้งาน CSS (Cascading Style Sheet)
(5). มีความสามารถในการทำ Drop Down Menu รวมถึงการทำรูปภาพเปลี่ยนเมื่อเมาส์ไปชี้ เป็นต้น
เครื่องมือในการทำงานของโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6
หน้าต่างการทำงานของโปรแกรม Adobe Dreamweaver มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
A : Menu Bar เป็นแถบรวบรวมคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม ประกอบด้วยเมนูย่อยดังนี้
1. File เป็นเมนูส่วนคำสั่งสำหรับจัดการกับเว็บเพจ เช่น สร้างเว็บเพจใหม่ บันทึกเว็บเพจ เปิดเว็บเพจ แสดงเว็บเพจบบนบราวเซอร์ หรือออกจากโปรแกรมเป็นต้น
2. Edit เป็นเมนูคำสั่งสำหรับแก้ไข เช่น คัดลอก ตัด วาง ค้นหา รวมถึงการตั้งค่าการทำงาน (Preference) ต่างๆ เป็นต้น
3. View เป็นเมนูคำสั่งสำหรับการปรับเปลี่ยนมุมมองของเว็บเพจขณะทำงาน เป็นต้น
4. Insert เป็นเมนูคำสั่งสำหรับแทรกวัตถุต่างๆ เ่น รูปถาพ เสียง ตาราง ฟอร์มต่างๆ ลงบนเว็บเพจ เป็นต้น
5. Modify เป็นเมนูคำสั่งสำหรับแก้ไขวัตถุต่างๆ บนเว็บเพจ เช่น การแก้ไข รูปแบบอักษร การแก้ไขรูปภาพ การจัดการตาราง หรือการกำหนดคุณสมบัติของเว็บเพจ เป็นต้น
6. Format เป็นเมนูคำสั่งสำหรับเปลี่ยนรูปแบบโดยรวมของข้อความบนเว็บเพจ เช่น การจัดรูปแบบข้อความ การสร้างหัวข้อรายงานเป็นต้น
7. Commands เป็นเมนูคำสั่งสำหรับจัดการกับชุดคำสั่งต่างๆบนเว็บเพจที่ทำงานอยู่
8. Site เป็นเมนูคำสั่งสำหรับจัดการกับ Site เช่น สร้าง Site หรือแก้ไข Site รวมถึงการตรวจสอบลิงค์ต่างๆใน Site เป็นต้น
9. Window เป็นเมนูที่ใช้ในการเปิดหรือปิดพาเนลท่ีทำงานอยู่
10. Help เป็นเมนูที่ใช้ในการขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ Adobe
B : Tool Bar เป็นแถบรงบรงมคำสั่งที่ใช้งานบ่อยประกอบด้วยเครื่องมือดังนี้
1. Document Tool Bar เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยปุ่มคำสั่งในการกำหนดมุมมองการแสดงเว็บเพจ การแสดงความละเอียดของหน้าเว็บเพจ การโอนย้ายไฟล์ หรือการกำหนดคำอธิบายเว็บเพจ เป็นต้น
2. Standard Tool Bar เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยปุ่มมคำสั่งพื้นฐานที่ใช้ในการจัดการไฟล์ เช่น การสร้างไฟล์ บันทึกไฟล์ เปิดไฟล์ คัดลอก ย้าย หรือวางเนื้อหาตลอดจนยกเลิก หรือทำซ้ำคำสั่ง
3. Style Rendering Tol Bar เป็นทูลบาร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้แสดงการทำงานของหน้าเว็บเพจที่ใช้งาน Style Sheet บนมีเดียประเภทต่างๆ เช่น บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ บนเครื่องพิมพ์ บนโปรเจ็คเตอร์ บนทีสี การเพิ่ม/ลดขนาดตัวอักษร ตลอดจนการแสดงสีของสถานการณ์เชื่อมโยง
C : Document Windows เป็นพื้นที่สำหรับสร้างหน้าเว็บเพจ และสามารถเลือกพื้นที่การทำงานได้หลายมุมมอง
D : Status Bar เป็นแถบแสดงสถานะ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ทางด้านซ้ายเรียกว่า Tag Selector ใช้สำหรับแสดงคำสั่ง HTML ของส่วนประกอบในเว็บเพจที่เลือกอยู่ และทางดด้านขวาเป็นส่วนที่บอกขนาดหน้าจอ การแสดงผล และเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดเว็บเพจ
E : Properties Inspector เป็นส่วนที่กำหนดคุณสมบัติต่างๆ ในการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆของหน้าเว็บเพจ
F : Insert Bar เป็นแถบที่ประกอบด้วยปุ่มคำสั่งที่ใช้ในการแทรกออบเจ็กต์ (องค์ประกอบต่างๆ) ลงในเว็บเพจ
G : Panel Group เป็นกลุ่มหน้าต่างพาเนล ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการและออกแบบเว็บเพจ
ความหมายของเว็บไซต์
ความหมายของเว็บไซต์
เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจเว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
คำว่า เว็บไซต์ ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาอังกฤษ มีการสะกดคำว่า เว็บไซต์หลายแบบ ตั้งแต่ Web site, website และ web site เริ่มแรกสุดคำว่าเว็บไซต์นั้น สะกดด้วยการแยกคำ และใช้ตัว W พิมพ์ใหญ่ เป็น Web site เนื่องจากคำว่า "Web" เป็นคำนามเฉพาะ ย่อมาจากคำว่า "World Wide Web" ดังนั้นจึงใช้คำว่า "Web site" ซึ่งสามารถเห็นได้ทั่วไปตามสื่อมวลชน และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ และภายหลังได้มี คำว่า "web site" และ "website" (เว็บไซต์)
ที่มาและความสำคัญของเว็บไซต์
ที่มาและความสำคัญของเว็บไซต์
การจัดทำเว็บไซต์ สามารถสร้างเว็บไซต์โดยใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับการออกแบบและการใช้งาน สร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น HTML, ASP, PHP, JAVA ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ภายใน จะเป็นภาพ ข้อความ เสียง ไฟล์วิดีโอต่าง ๆ
ประวัติการพัฒนาเว็บไซต์และซอฟต์แวร์
เว็บไซต์มีความสําคัญอย่างไร
เว็บไซต์มีความสําคัญอย่างไร ในยุคนี้ที่โลกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิตอลผ่านทางเครือข่ายเน็ตเวิร์ค และมีแนวโน้มที่ข้อมูลเหล่านั้นจะกระจายสู่สังคมอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเมื่อมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นทุกวัน มิหนำซ้ำเรื่องความครอบคลุมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ยังถูกบรรจุไว้เป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติอีกด้วย เนื่องจากแนวโน้มของระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประชากรจำนวนมากรับฟังข่าวสารจากระบบอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ องค์กรภาครัฐ หน่วยงานต่าง ๆ นิติบุคคล หรือกระทั่งบุคคลธรรมดา หลากอาชีพหลายสาขาจึงให้ความสำคัญกับการสร้างสื่อทางอินเทอร์เน็ต
สร้างเว็บไซต์หรือสนับสนุนให้มีการรับทำเว็บไซต์เป็นของตนเองเพื่อประชาสัมพันธ์ โฆษณางานหรือกิจกรรมต่าง ๆ เว็บไซต์มีความสําคัญอย่างไร โดยเฉพาะวงการธุรกิจ ปัจจุบันเว็บไซต์เปรียบเหมือนสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจขาดได้ไปเสียแล้ว เมื่อไม่ว่าจะบริษัทใหญ่หรือเล็กต่างก็ทำเว็บไซต์เป็นของตนเองทั้งนั้น เพราะเว็บไซต์คือช่องทางสำคัญที่จะทำให้บริษัทมีโอกาสได้นำเสนอสินค้าของตนให้ผู้คนจำนวนมากได้เห็น ซึมซับ และรับทราบถึงสินค้าหรือบริการ ด้วยต้นทุนที่ต่ำยิ่งกว่าการใช้สื่อหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์ มิหนำซ้ำการมาของ Social Media ยังทำให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ ด้วย seo กระจายได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางยิ่งกว่าสื่อกระแสหลักด้วยซ้ำ
ดังที่ปัจจุบันเราจะได้เห็นสื่อกระแสหลักจำเป็นต้องพึ่งข้อมูลและหลักฐานจากการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตกันบ่อยครั้งยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เราตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลดิจิตอลกันอย่างชัดเจน เมื่อใคร ๆ ต่างก็ใช้เว็บไซต์ ทำเว็บไซต์ เพื่อพัฒนา ประชาสัมพันธ์งานของตนผ่าน seo sem ทำให้กระแสการแข่งขันของเว็บไซต์สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีการเปรียบเทียบธุรกิจต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยคุณภาพของเว็บไซต์ มองถึงรูปแบบการ รับทำเว็บไซต์ จัดระบบ ความใช้งานง่ายอ่านง่าย ความเอาใจใส่ต่อข้อมูลที่นำเสนอ ซึ่งนำไปสู่การเลือกซื้อสินค้าหรือบริการในอนาคต ดังนั้นการมีเว็บไซต์ที่ดูดี น่าเชื่อถือจึงเป็นหนึ่งสิ่งที่สามารถช่วยสร้างธุรกิจให้เติบใหญ่ได้
บางบริษัทแม้ดูใหญ่โตทว่าเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลกลับมีแต่ข้อบกพร่อง หรือไม่มีเว็บไซต์ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกในด้านลบและลดความเชื่อถือลงได้ ในทางตรงกันข้าม แม้จะเป็นร้านเล็ก ๆ ไม่มีหน้าร้าน แต่การสร้างเว็บไซต์ได้ดึงดูด น่าดู น่าอ่าน น่าติดตาม ก็ทำให้สามารถทำเว็บขายสินค้าได้จำนวนมากด้วยธุรกิจการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปนี้ ธุรกิจก็ยังต้องดำเนินต่อไป ส่วนผู้ประกอบการหลายท่านพบปัญหาหลังทำเว็บไซต์เสร็จแล้วแต่ไม่สามารถดูแลเว็บไซต์หรืออัพเดทข้อมูลให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม้จะเพิ่มโปรโมชั่นหรือเรียนทำเว็บไซต์เพื่อเพิ่มข้อมูลด่วนๆต่างๆอีกมากมายด้วยหลายสาเหตุเองก็ต้องตามยุคสมัยให้ทันเพื่อทำให้บริษัทรุดหน้าต่อได้ แล้วคุณล่ะให้ความสำคัญกับการพัฒนาการสื่อสารผ่านทางระบบเครือข่ายนี้มากพอแล้วหรือยัง?ต้องย้ำกันชัดครับตรงนี้
บทบาทของเว็บไซต์
บทบาทของเว็บไซต์
ในปัจจุบันเว็บไซต์เข้ามามีบทบาท และมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคน เจนวาย (Generation Y) หรือ “เด็กรุ่นใหม่” เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีไอทีทำให้วิถีชีวิตต้องการความทัน สมัย และทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอเว็บไซต์จึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญสำหรับทุกคน เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็น การติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ข่าว การโฆษณาสื่อต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์ Social Network เช่น Facebook หรือ Google+ หรือ Twitter ที่สามารถตอบโจทย์การติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น เว็บไซต์จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ให้ความสำคัญของการมีเว็บไซต์เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อการค้าขาย และหากมีการนำเสนอเว็บไซต์ในรูปแบบสวยงาม ค้นหาข้อมูลง่าย มีความน่าเชื่อถือ ก็จะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมหรือลูกค้าได้มากกว่าสื่อประเภทอื่น ๆ อีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)